|
เกาะเชือก – เกาะแหวน ตรัง Koh Chauk – Koh Waen |
เกาะเชือก-เกาะแหวน แม้จะเป็นเกาะเล็กๆ ที่ตตั้งอยู่ระหว่างเกาะมุกกับเกาะกระดาน แต่จัดเป็นเกาะที่ยังมีความอุดมสมบรูณ์ของทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล จึงกลายเป็นจุดดำน้ำตื้นเพื่อดูปะการัง และฝูงปลานานาชนิดที่รอต้อนรับนักท่องเที่ยวอยู่ทุกวันอย่างไม่มีวันหยุด การเดินทางมายังเกาะนี้ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวจะขึ้นเรือจากท่าเรือปากเมง ซึ่งเป็นท่าเรือหลักสำหรับโปรแกรมทัวร์ท่องทะเลตรัง 1 วัน |
|
|
|
|
• แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในจังหวัดตรัง |
|
• คำขวัญจังหวัดตรัง |
เมืองพระยารัษฎา ชาวประชาใจกว้าง
หมูย่างรสเลิศ ถิ่นกำเนิดยางพารา
เด่นสง่าดอกศรีตรัง ปะการังใต้ทะเล
เสน่ห์หาดทรายงาม น้ำตกสวยตระการตา |
• ลักษณะและสภาพโดยทั่วไปของจังหวัดตรัง |
การปกครอง จังหวัดตรังแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 อำเภอ คือ
- อำเภอเมือง - อำเภอกันตัง - อำเภอห้วยยอด - อำเภอย่านตาขาว - อำเภอปะเหลียน - อำเภอสิเกา - อำเภอวังวิเศษ
- อำเภอนาโยง – อำเภอรัษฎา - อำเภอหาดสำราญ โดยจังหวัดตรังมีพื้นที่รวม 4,917 ตารางกิโลเมตร |
• อาณาเขตติดต่อ |
ทิศเหนือ ติดต่อกับ อ.ทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช และอ.คลองท่อม จังหวัดกระบี่
ทิศใต้ ติดต่อกับ อ.ทุ่งหว้า จังหวัดสตูล อ.รัตภูมิ จังหวัดสงขลา และช่องแคบมะละกาสมุทรอินเดีย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อ.ควนขนุน อ.กงหรา อ.ตะโหมด จังหวัดพัทลุง โดยมีเทือกเขาบรรทัดกั้นอาณาเขตตลอแนว
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อ.คลองท่อม อ.เกาะลันตา จังหวัดกระบี่ และมหาสมุทรอินเดีย |
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่เป็นเนินสูงๆ ต่ำๆ สลับด้วยเขาเล็กๆ กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป พื้นที่ค่อนข้างราบเรียบมีจำนวนน้อยซึ่งใช้เพาะปลูกข้าว ทางทิศตะวันออกมีเทือกเขาบรรทัดยาวจากเหนือจดตอนใต้ และเป็นเส้นแบ่งเขตแดนจังหวัดตรังกับจังหวัดพัทลุง มีเนื้อที่ป่าเกือบร้อยละ 20 ของเนื้อที่จังหวัดส่วนใหญ่เป็นพื้นที่แถบเทือกเขาบรรทัด ลักษณะดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย สภาพป่าเป็นป่าดิบชื้น มีป่าชายเลนสำหรับท้องที่ที่อยู่ติดชายทะเล และมีลำน้ำสำคัญๆ 3 สาย อันได้แก่ แม่น้ำตรัง ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเขาวังหีบ เทือกเขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรมราช แม่น้ำปะเหลียน เกิดจากเทือกเขาบรรทัด เขตอำเภอปะเหลียน คลองกะลาแสและต้นน้ำ ที่เกิดจากควนปลวกร้อน ควนชะไน และควนน้ำแดง ชายแดนตรัง กระบี่ นอกจากนี้ยังมีลำห้วยบริวารที่คอยส่งน้ำให้อีกกว่า 100 สาย ทั้งยังมีชายฝั่งด้านตะวันตก ติดทะเลอันดามันที่ยาวถึง 119 กม. กับเกาะต่างๆ กระจัดกระจาย อยู่กว่า 46 เกาะ และป่าชายเลนที่ยังคงอยู่ในสภาพที่อุดมสมบูรณ์
สภาพภูมิอากาศ
จังหวัดตรังได้รับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือช่วงเดือนตุลาคม-มกราคม และลมมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้ช่วง เดือนพฤษภาคม-กันยายนทำให้มีฝนตกตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 27.4 องศาเซลเซียส ส่วนช่วงเวลาที่อากาศเย็นสบาย จะอยู่ประมาณปลาย เดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนธันวาคม
ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัดตรัง แร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่ ดีบุก ฟลูออไรท์ และถ่านหินลิกไนท์ สำหรับทรัพยากรป่าไม้ที่สำคัญๆ เช่น เคี่ยม ยาง ตะเคียน หลุดพอ สามพอน ดำดง ตำเสา และตาเสือ เป็นต้น ทางด้านป่าชายเลนมีไม้โกงกาง ตะบูน ตาตุ่ม ปะสัก หลุดพอทะเล ฯลฯ นอกจากนี้ทางด้านชายฝั่งทะเลยังอุดมไปด้วยสัตว์ทะเลนานาชนิด และยังมีแหล่งรังนกนางแอ่นในท้องที่อำเภอสิเกา ซึ่งได้มีเอกชนขอสัมปทานเก็บในแต่ละปี
การประกอบอาชีพ
ชาวตรังส่วนใหญ่มีอาชีพในการเกษตร การเกษตรที่สำคัญของชาวจังหวัดตรังคือการทำสวนยางพารา ส่วนอาชีพในการเพาะปลูกอื่นๆ รองลงไปคือการทำนา ทำสวนมะพร้าว สวนผลไม้ เช่น เงาะ ทุเรียน กาแฟ และในบางท้องที่ทำสวนพริกไทย สำหรับประชาชนที่อยู่แถบชายฝั่งทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดียมีอาชีพการประมง
การศึกษา
ประชาชนในจังหวัดส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับประถมศึกษา แต่ในปัจจุบันประชาชนได้มองเห็นความสำคัญในด้านการศึกษามากขึ้น โดยการส่งเสริมให้บุตรหลานของตนได้มีการศึกษาต่อในระดับมัธยม ทั้งสายสามัญและสายอาชีพ ตลอดจนถึงขั้นอุดมศึกษา และปรากฎว่าสถาบันการศึกษาตั้งแต่ชั้นมัธยมขึ้นไปมีที่เรียนไม่เพียงพอกับความต้องการของนักเรียนนักศึกษาในจังหวัด ทั่งๆ ที่ทางฝ่ายการศึกษาได้พยายามเพิ่มโรงเรียนและชั้นเรียนเพิ่มขึ้นๆ ในทุกๆ ปี และการที่มีที่เรียนไม่เพียงพอเป็นสาเหตุให้นักเรียนนักศึกษาส่วนหนึ่งต้องไปแสวงหาที่เรียนในจังหวัดอื่น และโดยเฉพาะที่กรุงเทพมหานคร
ศาสนา
ประชาชนในจังหวัดส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาคือศาสนาอิสลาม และมีศาสนาและลัทธิอื่นๆ บ้าง เช่น ศาสนาคริสต์
การอพยพของประชากร
จากสภาพภูมิประเทศที่เอื้ออำนวยและทรัพยากรอันสมบูรณ์ของจังหวัด ทำให้ชาวจังหวัดตรังโดยทั่วๆ ไปมีฐานะความเป็นอยู่ดี ฉะนั้นปัญหาอพยพของประชากรในจังหวัดเพื่อไปหางานทำในท้องถิ่นอื่นจึงไม่มี แต่ในทางตรงข้าม ปรากฎว่าประชาชนจากท้องถิ่นอื่น เช่น จากจังหวัดใกล้เคียง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนจากจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อพยพเข้ามาหางานทำมีจำนวนมาก โดยการเป็นลูกจ้างในสวนยาง ลูกเรือประมง ลูกจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม และอาชีพรับจ้างบริการทั่วไป ดังนั้นจังหวัดตรังจึงมีประชากรย้ายเข้ามามากกว่าการย้ายออก |